เมนู

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,086] มีจิตยำเกรง 1 ถาม 1 หนักในสงฆ์ มิใช่ในบุคคล 1
สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง 1 วินัยเพื่ออนุเคราะห์ 1 หัวข้อตามที่
กล่าวนี้มีอุเทศอย่างเดียวกัน ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล.

จูฬสังคาม วัณณนา


วินิจฉัยในจูฬสงคราม

พึงทราบดังนี้:-
ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยอธิกรณ์ เรียกว่าสงคราม ใน
คำว่า ภิกษุผู้เข้าสงคราม. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ตน และเป็น
ข้าศึกต่อพระศาสนา ย่อมประชุมกัน แสดงสัตถุศาสนา นอกธรรมนอกวินัย
ในที่ประชุมสงฆ์นั้น เหมือนอย่างภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลีฉะนั้น.
ภิกษุใด ย่ำยีลัทธิของภิกษุผู้เป็นข้าศึกเหล่านั้นเสีย เข้าในที่ประชุม
สงฆ์นั้น เพื่อประโยชน์แก่การแสดงวาทะของตน วางอำนาจยังการวินิจฉัยให้
เป็นไป, ผู้นั้นชื่อว่าผู้เข้าสงคราม ประหนึ่งพระยสเถระฉะนั้น. ภิกษุผู้เข้า
สงครามนั้น เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรงเข้าหาสงฆ์.
บทว่า นีจจิตฺเตน ได้แก่ ผู้ลดธงคือมานะลงเสีย มีจิตมีมานะอัน
กำจัดเสียแล้ว.
บทว่า รโชหรณสเมน ได้แก่ มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า, อธิบายว่า
เมื่อเท้าเปื้อนหรือไม่เปื้อนอันบุคคลเช็ดอยู่ ความยินดีความยินร้าย ย่อมไม่มี

แก่ผ้าเช็ดเท้าฉันใด, พึงเป็นผู้มีจิตไม่ยินดีไม่ยินร้ายในอิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐารมณ์ฉันนั้น.
สองบทว่า ยถาปฏิรูเป อาสเน มีความว่า พึงรู้อาสนะตามที่สมควร
นั่งในที่ซึ่งถึงแก่ตน ไม่หันหลังให้ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ.
บทว่า อนานากถิเกน ได้แก่ ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไม่มีประโยชน์นั้น ๆ
ซึ่งมีประการต่าง ๆ.
บทว่า อติรจฺฉานกถิเกน ได้แก่ ไม่กล่าวติรัจฉานกถา มีเรื่อง
พระราชาเป็นต้น ที่ได้เห็นก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้ทราบก็ดี.
หลายบทว่า สามํ วา ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า ถ้อยคำที่อิง
เรื่องที่ควรและไม่ควร หรือที่อิงรูปารูปปริเฉท และลำดับแห่งสมถะ ลำดับ
แห่งวิปัสสนา วัตรในการยืนและนั่งเป็นต้น ในที่ประชุมสงฆ์ ชื่อว่าธรรม.
ธรรมเห็นปานนี้ พึงกล่าวเองก็ได้ เชิญภิกษุอื่นกล่าวก็ได้. ภิกษุใด สามารถ
เพื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้น ภิกษุนั้น อันตนพึงเชิญว่า ผู้มีอายุ ปัญหา
เกิดขึ้นแล้วในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพึงกล่าว.
หลายบทว่า อริโย วา ตุณฺหีภาโว นาติมญฺญิตพฺโพ มีความว่า
พระอริยเจ้าทั้งหลายเมื่อนั่งนิ่ง หาได้นั่งอย่างพาลปุถุชนไม่ ย่อมฉวยกัมมัฏฐาน
อย่างใดอย่างหนึ่งนั่ง, พระอริยเจ้าผู้มีการนิ่งเป็นปกติ ด้วยอำนาจทำกัมมัฏฐาน
ไว้ในใจอย่างนี้ ชื่อว่ามีความนิ่งเป็นปกติ. พระอริยเจ้านั้น อันภิกษุผู้เข้า
สงครามไม่พึงดูถูกว่า มีประโยชน์อะไรด้วยการร่ำเพียรในกัมมัฏฐาน. อธิบายว่า
คนพึงฉวยกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ตนนั่ง.

สองบทว่า น อุปชฺฌาโย ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรถามว่า
อุปัชฌาย์ของท่านชื่อไร ?. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้แล.
บทว่า น ชาติ มีความว่า ไม่ควรถามถึงชาติอย่างนี้ว่า ท่านเป็น
ชาติกษัตริย์หรือ ? ท่านเป็นชาติพราหมณ์หรือ ?
บทว่า น อาคโม มีความว่า ไม่ควรถามถึงปริยัติที่เรียน อย่างนี้ว่า
ท่านกล่าวทีฆนิกายหรือ ? ท่านกล่าวมัชฌิมนิกายหรือ ?
สกุลและประเทศ พึงทราบด้วยอำนาจสกุลกษัตริย์เป็นต้น.
หลายบทว่า อาตฺรสฺส เปมํ วา โทโส วา มีความว่า ความรัก
หรือความชังในบุคคลนั้น พึงมีด้วยอำนาจแห่งเหตุเหล่านั่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
สองบทว่า โน ปริสกปฺปิเยน มีความว่า ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท
คือคล้อยตามบริษัท; อธิบายว่า สิ่งใดชอบใจบริษัท สิ่งนั้นแลไม่พึงจงใจ
คือหมายใจกล่าว.
สองบทว่า น หตฺถมุทฺธา ทสฺเสตพฺพา มีความว่า ไม่พึงทำวิการ
แห่งมือ เพื่อหมายรู้ในข้อที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว.
สองบทว่า อตฺถํ อนฺวิธิยนฺเตน มีความว่า พึงคอยกำหนดให้รู้
ตลอดซึ่งกาลวินิจฉัยเท่านั้น คือ พึงนั่งพิจารณาโดยรอบคอบอย่างนี้ สูตรนี้
อ้างได้ เราจักกล่าวสูตรนี้ ในวินิจฉัยนี้.
หลายบทว่า น จ อาสนา วุฏฺฐาตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงลุกจาก
ที่นั่งเที่ยวไปในบริเวณที่ชุมนุม. เพราะว่า เมื่อพระวินัยธรลุก บริษัททั้งปวง
ย่อมลุก.

บทว่า น วีติหาตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงให้วินิจฉัยบกพร่อง.
สองบทว่า น กุมฺมคฺโค เสวิตพฺโพ มีความว่า ไม่พึงชี้อาบัติ.
สองบทว่า อสาหสิเกน ภวิตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงเป็นผู้ทำโดย
ผลุนผลัน. อธิบายว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำให้ผิดพลาดโดยความผลุนผลัน.
บทว่า วจนกฺขเมน มีความว่า พึงเป็นผู้มีปกติอดได้ซึ่งถ้อยคำที่
หยาบคาย.
บทว่า หิตปริสกฺกินา มีความว่า พึงเป็นผู้แสวงหาประโยชน์ คือ
ขวนขวายเพื่อประโยชน์. ในบททั้ง 2 มีอธิบายดังนี้ ว่า กรุณาและธรรมเป็น
ส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา อันภิกษุผู้เข้าสงครามพึงให้เข้าไปตั้งไว้.
บทว่า อนุรุตเตน ได้แก่ ไม่พึงเป็นผู้กล่าวถ้อยคำหยาบคาย.
อธิบายว่า ถ้อยคำที่ไม่ดี กล่าวคือถ้อยคำชวนวิวาท เรียกว่าถ้อยคำที่หยาบคาย,
คำหยาบคายนั้น อันภิกษุผู้เข้าสงครามไม่ควรกล่าว.
สองบทว่า อตฺตา ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูตน
อย่างนี้ว่า เราสามารถจะวินิจฉัย คือระงับอธิกรณ์หรือไม่หนอ ? อธิบายว่า
พึงรู้ประมาณตน.
สองบทว่า ปโร ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูผู้อื่นอย่างนี้ว่า
บริษัทนี้ เป็นลัชชีหรือหนอ ? อัน เราอาจจะให้ยินยอมหรือไม่ ?
สองบทว่า โจทโก ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูโจทก์
อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นโจทก์โดยธรรมหรือไม่หนอ ?
สองบทว่า จุทิตโก ปริคฺคเทตพฺโพ มีความว่า พึงตรวจดูจำเลย
อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นจำเลยโดยธรรมหรือไม่ ?

สองบทว่า อธมฺมโจทโก ปริคฺคเหตพฺโพ มีความว่า พึงรู้
ประมาณโจทก์นั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
สองบทว่า วตฺตํ อหาเปนฺเตน มีความว่า ไม่พึงยังถ้อยคำอัน
โจทก์และจำเลยกล่าวให้ตกหล่น.
สองบทว่า อวุตฺตํ อปฺปกาเสนฺเตน มีความว่า ไม่พึงแซมข้อ
ความซึ่งมิได้เข้าประเด็น.
สองบทว่า เวโป ปหาเสตพฺโพ มีความว่า โจทก์หรือจำเลยเป็น
ผู้อ่อน คือเป็นผู้โง่เขลา พึงช่วยเหลือ คือพึงปลุกใจให้อาจหาญว่า ท่านเป็น
บุตรของสกุลมิใช่หรือ ? แล้วชี้แจงธรรมเนียมในการซักถามแล้ว จับการซัก
ถามแก่ผู้โง่เขลานั้น.
สองบทว่า ภิรุ อสฺสาเสตพฺโพ มีความว่า โจทก์หรือจำเลยใด
เกิดความสะทกสะท้านขึ้น เพราะไม่เคยเข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์หรือท่ามกลางคณะ,
ภิกษุเช่นนั้น อันภิกษุผู้ว่าอรรถคดีพึงพูดปลอบว่า ท่านอย่ากลัวเลย จงวางใจ
ให้การเถิด, พวกเราจักเป็นผู้สนับสนุนท่าน ดังนี้ก็ได้ แล้วชี้แจงธรรมเนียม
ในการซักถาม.
สองบทว่า จณฺโฑ นิเสเธตพฺโพ มีความว่า เป็นผู้ดุร้ายพึงรุก
รานเสีย คือพึงกำหราบเสีย.
สองบทว่า อสุจิ วิภาเวตพฺโพ มีความว่า เป็นอลัชชี พึงประกาศ
แล้วให้แสดงอาบัติเสีย.
สองบทว่า อุชุ มทฺทเวน มีความว่า ภิกษุใดเป็นผู้ตรง มีศีล
เว้นจากความโกงทางกายเป็นต้น, ภิกษุนั้น อันผู้ว่าอรรถคดีพึงพระพฤติต่อ
ด้วยความอ่อนโยนเท่านั้น.

ในคำว่า ธมฺเมสุ จ ปุคฺคเลสุ จ นี้ ภิกษุใด เป็นผู้หนักใน
ธรรม มิได้เป็นผู้หนักในบุคคล, ภิกษุนี้แล พึงทราบว่า ผู้วางตนเป็นกลาง
ทั้งในธรรมทั้งในบุคคล.

[ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตรเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในคำว่า สุตฺตํ สํสนฺทนตฺถาย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
ก็แต่ว่า ภิกษุผู้ว่าอรรถคดี ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพและที่นับถือ
ของเพื่อนพรหมจารีอย่างนี้นั้น พึงทราบว่า ในบรรดาสูตรเป็นต้น ที่อ้างมา
สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง คือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนอาบัติ
และอนาบัติ.
สองบทว่า โอปมฺมํ นิทสฺสนตฺถาย มีความว่า ข้ออุปมาเพื่อ
ประโยชน์แก่การชี้เนื้อความ.
สองบทว่า อตฺโถ วิญฺญาปนตฺถาย มีความว่า เนื้อความเพื่อ
ประโยชน์แก่การที่จะให้เข้าใจ.
สองบทว่า ปฏิปุจฉา ฐปนตฺถาย มีความว่า การย้อนถามเพื่อ
ประโยชน์แก่ความมั่นคงของบุคคล.
สองบทว่า โอกาสกมฺมํ โจทนตฺถาย มีความว่า (การขอโอกาส)
เพื่อประโยชน์แก่การโจทด้วยวัตถุหรือด้วยอาบัติ.
สองบทว่า โจทนา สารณตฺถาย มีความว่า (การโจท) เพื่อ
ประโยชน์แก่การที่จะให้จำเลยระลึกถึงโทษน้อยใหญ่.